วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ธุรกิจส่งออกกระทิงแดง

ประวัติบริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด

เมื่อย้อนกลับไปเกือบ 50 ปี ที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2499 นายเฉลียว อยู่วิทยา ได้ก่อตั้งห้าง หุ้นส่วนจำกัด ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอลขึ้น ด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเข้ายาสำเร็จรูป จากต่างประเทศมาจำหน่ายในประเทศ ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศอังกฤษและนำเข้าเคมีภัณฑ์ อันเป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานผลิตยา ซึ่งบริษัทได้สั่งซื้อและนำเข้าจากประเทศเยอรมันนี

ในระยะต่อมา ได้เปลี่ยนจากการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศดังกล่าว เป็นการว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ดำเนินการผลิตยา เพื่อต้องการ ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นของคนไทยเอง ซึ่งการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเป็นที่นิยม จึงทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ดำเนินการเช่นเดียวกัน เป็นผลทำให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว จึงส่งผลกระทบทำให้การดำเนินธุรกิจไม่สามารถสร้างรายได้เพียงพอ กับรายจ่ายที่สูงขึ้นเช่นกัน จึงริเริ่มตั้งโรงงานผลิตยาขึ้นเองในประเทศ ยาที่ผลิตและประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ทีซี-มัยซินซึ่งมีสรรพคุณแก้อักเสบทุกชนิด

นอกจากผลิตยาดังกล่าว คุณเฉลียวได้ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง เพราะเป็นสินค้าที่ท้าทายนักการตลาด ในช่วงระยะเวลานั้นมาก บริษัท ทีซี-มัยซิน อุตสาหกรรม จำกัด จึงเกิดขึ้นเมื่อปี 2508 ได้ผลิตเครื่องสำอางภายใต้เครื่องหมายการค้า แท็ตทูและ เบบี้ดอล ซึ่งประกอบด้วย แชมพูสระผม, แป้งฝุ่น, แป้งพัฟผัดหน้า, ลิปสติก, น้ำมันใส่ผม, สบู่, โลชั่น, ผ้าอนามัย เท็นเด้อร์ สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่ผลิตอย่างดีมีคุณภาพได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคสูงมากในขณะนั้น จึงประสบปัญหาทำให้มีผู้ประกอบการรายย่อย ทำสินค้าปลอมแปลงขึ้นและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่า จึงทำให้บริษัทฯตัดสินใจหยุดการทำตลาดในที่สุด

จากผลิตภัณฑ์ยา, เครื่องสำอาง ก้าวมาสู่เครื่องดื่มให้พลังงาน ซึ่งขณะนั้น ลิโพวิตัน-ดี สินค้าของญี่ปุ่นที่ผลิตในประเทศไทย เป็นผู้ครองตลาด อันดับหนึ่ง ตามด้วย ป๊อปปิ้นดี สินค้าของคนไทย จากการสำรวจพบว่า ช่องว่างระหว่างผู้นำตลาดกับอันดับสองห่างกันมากและ ป๊อปปิ้นดี
ไม่สามารถขยายฐานการตลาดของคนไทยออกไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่ บริษัทจึงทำการศึกษาตลาดและเห็นถึงโอกาส และความเป็นไปได้ ในการขยายช่องทางการลาดของ
เครื่องดื่มให้พลังงานมาก ประกอบกับเครื่องดื่มให้พลังงานในช่วงนั้นจะต้องขึ้นทะเบียน อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยา (ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารแและยากำหนดให้เครื่องดื่มให้พลังงานขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร)
สืบเนื่องจากบริษัทฯ มีประสบการณ์และมี ใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทนี้อยู่แล้ว บริษัทฯ จึงได้ลงทุนทำการศึกษาวิจัยและผลิตเครื่องดื่มดังกล่าว มาทดลองทำการตลาด และจำหน่าย

เครื่องดื่มให้พลังงาน ทีโอเปล็กซ์ ดีไซรัป (กระทิงแดงขวดเล็ก) ขนาดบรรจุ100 ซี .ซี. กระทิงแดง ขนาดบรรจุ 150 ซี.ซี. จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 ภายใต้เครื่องหมายการค้ารูปกระทิงแดงคู่ผงาดเข้าหากันด้วยพละกำลัง ซึ่งกระทิงแดงคู่เป็นสัญลักษณ์ ของพลังความแข็งแรงและวงกลมตรงกลาง เปรียบเสมือนอาทิตย์ที่ฉายแสงพลังและสร้างความสมดุลย์ และสโลแกน กระทิงแดงซู่ซ่า ก็เกิดขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกัน

ความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น เบื้องหลังของความสำเร็จ ไม่เพียงเพราะเครื่องหมายการค้า ที่แสดงถึงพลังหรือสโลแกนที่ติดปาก และสื่อความหมายชัดเจน ยังประกอบด้วยการให้ความสำคัญกับรสชาติที่ฉีกแนวออกไปจากยี่ห้ออื่นที่วางตลาดกันอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ มีรสชาติคล้ายยา
และบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วยการเยี่ยมเยียน สอบถามผู้บริโภค
อีกทั้งได้แจกจ่าย เครื่องดื่มให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสทดลองชิมก่อนวางตลาด เพื่อพัฒนารสชาติจนเป็นที่ยอมรับ อีกทั้งความเชื่อมั่นในสินค้าที่ผลิต เนื่องจากได้ทำการศึกษาก่อนจะทำการผลิตถึง 3 ปี เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางการตลาด คุณสมบัติของสินค้า ข้อดี ข้อด้อย จนได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด เพื่อพัฒนาเครื่องดื่มกระทิงแดง ออกสู่ตลาดผู้บริโภคไทย

นอกจากการดำเนินธุรกิจและได้รับความสำเร็จในประเทศแล้ว ในปี 2531 บริษัทฯ ยังได้นำเครื่องดื่ม กระทิงแดง โดยมอบหมายให้ Mr. Dietrich Mateschitez ไปเริ่มทำตลาดในประเทศเยอรมันและออสเตรีย และขยายธุรกิจคลอบคลุมกว่า 108 ประเทศทั่วโลกโดยในปัจจุบัน Mr.Dietrich Mateschitz ดำรงตำแหน่ง Director of International Marketing Red Bull GmbH. ซึ่งสำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในประเทศออสเตรีย ที่ดูแลธุรกิจทั้งทางด้านการผลิตและจัดจำหน่าย เรดบูล ให้กับประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย

ปัจจุบันนอกจากสำนักงานและโรงงานในประเทศไทยและประเทศออสเตรียแล้ว บริษัทฯ ยังได้ลงทุนสร้างโรงงานเพื่อผลิตและจัดจำหน่าย เครื่องดื่ม กระทิงแดง ในเวียดนาม, จีน และอินโดนีเซียอีกด้วย โดยทุกสำนักงาน และโรงงานการผลิตยังคงยึดมั่นในการรักษาคุณภาพ ของสินค้าในระดับมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วโลกตลอดมา

ขอขอบคุณ
http://www.redbullspirit.org/2008/index.php/old-article/404-2009-03-22-04-25-00.html


การวิเคราะห์บริษัทโดยใช้บทเรียนของวิชา
“การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ”

เนื่อหาต่างๆในวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มีความสอดคล้องกับบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง ดังนี้

1. กลยุทธ์การค้าระหว่างประเทศ

สาเหตุที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศของบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง เนื่องมาจากปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ และนายเฉลียว อยู่วิทยาได้พบกับผู้เชี่ยญชาญในการเปิดตลาดฝั่งประเทศยุโรปจึงทำให้เกิดการส่งออกสินค้าประเภทเครื่องดื่มชูกำลังขึ้น

1.1 กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก

กิจกรรมด้านการส่งกำลังบำรุง (Logistics)
ทางบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง มีบริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางการส่งออก ได้แก่การจัดการขนส่ง การคำนวณค่าขนส่ง การถือครองเอกสาร การได้มาซึ่งข้อมูลทางการเงิน การกระจายสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การประกับภัย

กิจกรรมด้านกระบวนการทางกฎหมาย
เนื่องจากเครื่องดื่มชูกำลัง จะมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ และเครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง มีส่วนผสมของโคเคนอยู่ด้วย จึงทำให้กระบวนการทางกฎหมายและศุลกากร เป็นไปด้วยความยากลำบาก

กิจกรรมด้านการส่งเสริมการขาย
บริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง มีการส่งเสริมการขายในหลายๆรูปแบบในรูปแบบของผู้สนับสนุน โดยเน้นไปที่กลุ่มวัยรุ่น และคนรุ่นใหม่ ดังที่เราเห็นได้ในการแข่งขันผาดโผนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Extreme Sports, การแข่งขันรถฟอร์มูล่าวัน






2. การลงทุนระหว่างประเทศ

เมื่อตลาดเครื่องดื่มชูกำลังภายในประเทศไทยเริ่มอื่มตัว ทางบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง จึงมีการขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆในยุโรป โดยมีนายดีทริช เมเทสซิทซ์เป็นผู้ร่วมถือหุ้นและทำตลาดในต่างประเทศ

2.1 วัตถุประสงค์ในการขยายตลาด

- ต้นทุนการขนส่งที่สูง โดยการตั้งโรงงานในประเทศที่มีกำลังซื้อสูง เช่นจีน ทำให้สามารถค่าขนส่ง โดยที่ปกติต้องส่งออกจากไทย ไปจีน การตั้งโรงงานของบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง ทำให้สามารถต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าการขนส่งได้

- การขาดแคลนกำลังผลิตในประเทศแม่ ในกรณีการลงทุนในต่างปะเทศของบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง ทำให้ทางบริษัทสามารถเลือกสรรแรงงานที่มีคุณภาพได้

- การจำกัดทางการค้า ในอดีต ทางบริษัทได้ผลกระทบจากปัจจัยทางการเมืองจึงทำให้บริษัทต้องไปทำตลาดในประเทศแถบยุโรป